ซีรีส์คุณภาพของระบบต่าง ๆ ในเกม VALORANT - อัปเดตเรื่อง AFK และการออกคิว
หมายเหตุจากบรรณาธิการ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์เจาะลึกระบบเกมเพลย์ โดยเฉพาะในส่วนของการแข่งขัน และการศึกษาสังคมและผู้เล่นในเกม VALORANT เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความซีรีส์นี้ได้ในบทนำของเรา
สวัสดีครับทุกคน ผม Seth S. Smith เป็นนักออกแบบระบบศึกษาผู้เล่นอาวุโสจากทีมศึกษาสังคมและผู้เล่นเกม VALORANT วันนี้ผมจะมาพูดคุยเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบแทรกแซงพฤติกรรมการ AFK และการออกคิวที่จะเข้ามาในแพตช์ 6.07 กัน พร้อมกับข้อมูลเชิงลึกจาก Parsa Spandar นักวิเคราะห์ขอบเขตการแข่งขันของเราครับ
โดยสรุป
- เราจะเพิ่มจำนวนการเสียเรตติ้งแรงค์สำหรับการออกคิวซ้ำ ๆ
- และก็จะนำบทลงโทษข้อจำกัดด้านแรงค์ 1 วันสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรม AFK บ่อยเกินไปมาใช้เร็วกว่าบทลงโทษเกมจัดอันดับตัวก่อน
- ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเข้ามาในแพตช์ 6.07 นี้
ไดนามิกผู้เล่นคืออะไร?
ไดนามิกผู้เล่นคือระบบที่ช่วยให้ทุกคนเล่นเกมร่วมกันได้ดี ซึ่งรวมถึงการระบุรูปแบบพฤติกรรมและทำการปรับเปลี่ยนระบบพฤติกรรมทางสังคม เพื่อจูงใจให้พฤติกรรมที่ “สนับสนุนสังคม” เช่น การมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ การเล่นอย่างยุติธรรม และการสื่อสารระหว่างผู้เล่นที่ดีและปลอดภัย ในขณะที่พยายามลดรูปแบบพฤติกรรมก่อกวนต่าง ๆ เช่น:
- การละเมิดข้อบังคับในการมีส่วนร่วม
- AFK (การไม่อยู่จอ)
- ออกจากการรอคิว
- การใช้บอท
- การละเมิดข้อบังคับการเล่นอย่างยุติธรรม
- ใช้สกิลในทางที่ผิด
- ใช้ตัวบัง
- การทำลายเกม
- การโกง (ระบบช่วยเล็ง, ระบบช่วยยิง, แฮคกำแพง)
- ใช้ประโยชน์จากบั๊กเกม
- การละเมิดกฎการสื่อสาร
- การใช้ข้อความในทางที่ผิด
- การใช้แชทเสียงในทางที่ผิด
- ชื่อที่ไม่เหมาะสม
- การใช้ข้อความแสดงความเกลียดชัง
- เนื้อหาทางเพศ
- การข่มขู่
- พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนข้อตกลงการเข้าร่วมของเรา (เช่น ระบบจัดการการออกคิวและ AFK) เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้สนับสนุนให้ผู้เล่นทุกคนมีส่วนร่วมในการเล่น VALORANT กันอย่างสร้างสรรค์
พฤติกรรมการออกการรอคิว
การออกการรอคิวคือการที่ผู้เล่นเข้าคิวแล้ว จากนั้นก็ออกจากคิวไปกะทันหัน เช่น การออกขณะเลือกเอเจนท์ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้เล่นอื่นเสียเวลาได้ เพราะทำให้การเข้าเกมใช้เวลานานขึ้น และก็น่าหัวเสียสำหรับคนที่อยากเข้าไปแข่งแล้วอีกด้วย
ช่วงปีที่ผ่านมานี้ พฤติกรรมการออกคิวนี่ล่ะคือพฤติกรรมที่ส่งผลต่อเกมเพลย์มากที่สุด ซึ่งการออกคิวในเกมแรงค์และเกมปกติมีมากถึง 21.72% และ 15.34% จากผู้เล่นทั้งหมดเลยทีเดียว รวมแล้วเป็น 37.07% ของการมีส่วนร่วมทั้งหมดนับตั้งแต่ต้นปีมา ซึ่งการที่มีเปอร์เซ็นต์สูงแบบนี้ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติในหมู่ผู้เล่น
แต่เพื่อการลดพฤติกรรมการออกคิวแบบนี้ลง ตอนนี้เราเลยจะเพิ่มการเสียเรตติ้งแรงค์ให้ผู้เล่นที่ทำพฤติกรรมออกคิวซ้ำ ๆ
เราเชื่อว่าการเสียเรตติ้งแรงค์มากขึ้นจากการออกคิวติดต่อกันหลายครั้งจะสามารถสะท้อนจุดยืนที่แน่วแน่ของเราในการต่อต้านการออกคิวในเกม VALORANT ได้ และต่อไปก็จะช่วยลดพฤติกรรมเช่นนี้ลงได้
พฤติกรรม AFK
AFK (การไม่อยู่จอ) คือพฤติกรรมการออกจากเกมหรือการที่ไม่มีส่วนร่วมในเกม เช่น การตัดการเชื่อมต่อจากการแข่ง, การที่อยู่จอแต่ไม่ร่วมเล่น, หรือการถูกตรวจจับว่าเป็นบอท การกระทำนี้ทำให้ทีมมีโอกาสชนะน้อยลงมาก และทำลายประสบการณ์การเล่นของทุกคนในเกมนั้นได้
เราจะนำบทลงโทษข้อจำกัดด้านแรงค์ 1 วันสำหรับผู้เล่นที่มักมีพฤติกรรม AFK ซ้ำหลายครั้งเข้ามาเร็วกว่าบทลงโทษตัวก่อน ผู้เล่นที่มักมีพฤติกรรม AFK จะถูกจำกัดไม่ให้เล่นแรงค์ได้รวดเร็วมากขึ้น
เราเชื่อว่าจุดยืนในการต่อต้าน AFK นี้จะเชื่อมโยงกับพฤติกรรมผู้เล่นที่เราคาดหวัง และสุดท้ายก็จะนำไปสู่การเล่น VALORANT อย่างมีคุณภาพมากขึ้นได้
การใช้บอท
การใช้บอทก็คือการใช้บอทช่วยเล่นในเกม พฤติกรรมนี้ทำให้ทีมมีโอกาสแพ้สูง เพราะเป็นการทำให้ทีมหนึ่งเล่นกับบอทซึ่งต้องแข่งกับอีกทีมมีสมดุลดี ซึ่งเป็นการทำลายความโปร่งใสของเกมเพลย์ได้
ในทุกวันนี้ VALORANT ได้ใช้ระบบแทรกแซงการใช้บอทเพื่อผู้เล่น เพื่อการติดตาม การแทรกแซง และเพื่อลดการใช้บอทใน VALORANT
และในอนาคต ทีมศึกษาสังคมและผู้เล่นก็จะค้นหาและพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมยิ่งกว่าเดิมเพื่อแทรกแซงการใช้บอท ด้วยการสร้างฟีเจอร์ที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้เล่นพฤติกรรมดีต่าง ๆ เช่น การมีส่วนร่วม การมีทีมเวิร์ค และการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
บทสรุป
หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการไม่เข้าร่วมกันอย่าง AFK และการออกคิวกันโดยละเอียดแล้ว เราก็ได้ข้อมูลว่าจะลดพฤติกรรมเหล่านี้ลง และเพิ่มการเล่นที่มีคุณภาพมากขึ้นให้ VALORANT ได้อย่างไร ซึ่งเราตั้งตารอจะเสริมส่วนนี้เข้าไปในแพตช์ 6.07 ในฐานะก้าวสำคัญสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างประสบการณ์การเล่นที่ปลอดภัยและสานความสัมพันธ์ให้กับเหล่าผู้เล่นที่รักของเรา